Wednesday 28 January 2015

การใช้หนังสือเดินทาง 2 เล่ม (Passport)

          สำหรับท่านใดที่ถือ passport 2 เล่ม ถือว่าเป็นบุคคล 2 สัญชาติ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง หรือลูกครึ่งก็ตาม การเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย ควรจะแสดง passport ของท่านแค่เล่มเดียว หากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ไม่ถามก็ไม่จำเป็นต้องแสดงสองเล่ม เพราะทำให้เกิดความสับสนและอาจมีคำถามจากเจ้าหน้าที่ตามมาเป็นชุดๆ บางกรณีอาจมีการตรวจสอบด้วย ทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ ซึ่งเกิดขึ้นกับตัวเองช่วงแรกๆที่เดินทาง 

          มาดูกันว่าเราจะใช้หนังสือเดินทางอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี่ขอพูดถึงการเดินทางเข้าออกระหว่างอังกฤษไปยังประเทศไทยคะ

             Passport 2 เล่มที่เราถือคือ 
how to use 2 passports

             1. Thai passport ไทยพาสปอร์ต
             2. British passport บริติชพาสปอร์ต 

          โดยปกติแล้วประเทศในโซนยุโรป อเมริกา สามารถเดินทางเข้าไทยได้ 30 วันโดยไม่ต้องขอวีซ่า British passport holders arriving by air or land can enter Thailand for 30 days without a VISA คนอังกฤษเดินทางเข้าไทยได้ 30 วันโดยไม่ต้องขอวีซ่า


การใช้พาสปอร์ตแบ่งเป็นดังนี้ 

1. ถ้าเข้าไทยไม่เกิน 30 วัน เลือกใช้ได้ 2 กรณี (เลือกใช้ 1.1 หรือ 1.2 แล้วแต่สะดวก)
    1.1 ใช้บริติชพาสปอร์ตทั้งเข้าและออกไทย (ใช้ 1 เล่ม) 
    1.2 ใช้บริตซพาสปอร์ตออกและเข้าอังกฤษ แล้วใช้ไทยพาสปอร์ตเข้าและออกไทย (ใช้ 2 เล่ม)

2. ถ้าเดินทางเกิน 30 วัน ใช้บริติชพาสปอร์ตออกและเข้าอังกฤษ แล้วใช้ไทยพาสปอร์ตเข้าและออกไทย ขอย้ำว่าต้องใช้ทั้ง 2 เล่ม 
    
     ข้อดีคือ ท่านสามารถอยู่ในไทยได้นานเท่าไหร่ก็ได้ แต่ถ้าท่านใช้บริติชพาสปอร์ตเข้าไทย ท่านก็เป็นคนไทยที่ถูกจำกัดสิทธิ และท่านจะได้ต้องทำเรื่องขอต่อวีซ่าและเสียค่าธรรมเนียมด้วย แถมยังถูกปรับวันละ 500 บาท ไม่เกิน 20000 บาท (ยื่นบริติชเข้าไทยถือว่าท่านเป็นบริติช จะถูกปรับเวลาออกนอกประเทศ) และไม่ควรให้พาสปอร์ตใกล้หมดอายุ (มีอายุใช้ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน) ฉะนั้นต้องตรวจเช็คพาสปอร์ตและวางแผนก่อนการเดินทาง 

3. กรณีลูกครึ่งถือสองสัญชาติ  ถ้าเดินทางเกิน 30 วัน ใช้พาสปอร์ตสองเล่ม ปฏิบัติตามข้อ 2

4. กรณีลูกครึ่งถือเฉพาะบริติชพาสปอร์ต เดินทางกลับไทยเกิน 30 วัน เจ้าหน้าที่ ตม.  จะผ่อนผันไม่ปรับบุตรของคนสัญชาติไทยที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีเดินทางพร้อมบิดาหรือมารดาในไทยได้เกินกำหนด ส่วนเด็กอายุมากกว่า 14 แต่ไม่เกิน 17 อาจจะไม่ปรับ  ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความสะดวกและไม่ต้องกังวลกับการเดินทางควรยื่นเรื่องขอสูตบัตรและหนังสือเดินทางให้เรียบร้อยตามลิงค์นี้ เมื่อลูกถือสองสัญชาติ ทั้งนี้อาจไม่มีปัญหาที่ไทย แต่หากมีการเปลี่ยนเครื่องในประเทศอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดปัญหาและการเดินทางล่าช้า เสียเวลาและเสี่ยงต่อการตกเครื่องด้วย 


Tuesday 27 January 2015

เมื่อลูกถือสองสัญชาติ

          หลังจากประสบการณ์คลอดลูกที่อังกฤษที่เขียนไว้ในก่อนหน้านี้ ต่อไปเรามาดูต่อว่าลูกครึ่งจะถือสัญชาติไทยและสัญชาติอังกฤษ (British Citizen) ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ ส่วนในรายละเอียดขอไม่กล่าวถึง ให้ท่านดูตามลิงค์เพิ่มเติมคะ ลูกครึ่งถือสองสัญชาติ

Citizen
            
          เป็นธรรมดาคะเราสายเลือดไทย เมื่อลูกเป็นลูกครึ่ง อย่างไรเสียเราก็อยากให้ลูกของเรามีความเป็นไทยด้วย ไม่ว่าจะด้านภาษา ขนมธรรมเนียม วัฒนธรรมไทยหรือแม้แต่การถือสัญชาติไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  เด็กลูกครึ่งไทยอังกฤษที่เกิดในสหราชอาณาจักร (ยูเค) ต้องแจ้งเกิดในยูเคก่อน เพื่อให้ได้ Birth Certificate จากทางการอังกฤษก่อน แล้วถึงยื่นเรื่องขอสูติบัตร ไทยตามลำดับ

          ส่วนเด็กลูกครึ่งไทยอังกฤษ ที่เกิดในประเทศไทยก็แจ้งเกิดที่ไทยตามกฎหมายไทยก่อน แล้วถ้าจะยื่นเรื่องขอสัญชาติอังกฤษก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยค่ะ ในที่นี่ขอกล่าวถึงการที่เด็กเกิดในยูเคนะค่ะ
       
การแจ้งเกิด ต้องแจ้งทั้ง 2 แห่ง คือที่ทางการของอังกฤษและกงสุลไทยในประเทศอังกฤษ
          
         การแจ้งเกิดในส่วนทางการของอังกฤษ
         บุตรที่เกิดในยูเค จะต้องแจ้งเกิดภายใน 42 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิด ผู้ปกครองของเด็กจะต้องไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดที่ Local register office ในพื้นที่ที่เด็กเกิด หรือที่โรงพยาบาลที่เด็กเกิดก่อนที่แม่และเด็กจะออกจากโรงพยาบาล แต่บางที่ก็ไม่สามารถทำได้ คุณก็ต้องไปใน another register office ที่ใกล้ที่สุด

          ข้อมูลที่จำเป็นในการแจ้งเกิด
          - ชื่อ สกุล เพศ ของเด็ก
          - สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด
          - ชื่อ สกุล ที่อยู่ของพ่อและแม่
          - ทะเบียนสมรสของพ่อและแม่เด็ก
          - สถานการทำงานของพ่อและแม่เด็ก
          - นามสกุลเดิมของแม่เด็ก

คุณอาจไม่ต้องให้รายละเอียดทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ทำการสอบถามการแจ้งเกิด

         เอกสารอ้างอิงที่ควรนำไป เพื่อแสดงตน เช่น
          - Passport หนังสือเดินทาง
          - Birth Certificate ใบสูติบัตร
          - Driving licence ใบขับขี่
          - proof of address (eg. utility bill) หลักฐานแสดงที่อยู่อาศัย เช่นบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ
          - council Tax bill บิลเรียกเก็บภาษี
          - marriage or civil partnership certificate ทะเบียนสมรส
          - You may need proof of paternity form  
          เมื่อเอกสารครบถ้วนก็จะได้รับ Birth Certificate ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญใช้ได้ตลอดชีวิต ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็ปไซต์ https://www.gov.uk/register-birth

             การแจ้งเกิดที่กงสุลไทยในประเทศอังกฤษ
         1. การขอสูติบัตร
             1.1 การขอสูติบัตรไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า แต่ถ้าจะขอทำหนังสือเดินททางด้วยต้องนัดหมาย
                   กับสถานเอกอัคราชฑูตฯ ล่วงหน้า
             1.2 ทั้งบุตรและผู้ปกครองจะต้องไปติดต่อที่สถานทูตด้วยตัวเอง
             1.3 เด็กที่ขอใบสูตบัตร จะต้องเกิดในยูเค และมีใบรับรองการเกิดจากทางการของยูเคแล้ว
                   เท่านั้น
        
         2. แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
             2.1 แบบฟอร์มสูติบัตร
             2.2 คำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ แบบฟอร์มที่ 1 (กรณีขอทำหนังสือเดินทาง)
             2.3 บันทึกสอบสวน แบบฟอร์มที่ 2 (กรณีขอหนังสือเดินทาง)
       
          3. หลักฐานประกอบ
              3.1 กรณีบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสแล้ว 
                    1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
                    2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
                    3 สำเนาทะเบียนสมรสของบิดา/มารดา
                    4 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
                    5 สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา

              3.2 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว 
                    1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
                    2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
                    3 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
                    4 สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา
                    5 สำหรับแบบฟอร์มบันทึกถ้อยคำ ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องลงนามต่อเจ้าหน้าที่ 
                       ที่สถานฑูตฯ เท่านั้น   หากบุตรต้องการใช้นามสกุลตามบิดา บิดาจะต้องลงนามใน
                       แบบฟอร์มยินยอมให้ใช้นามสกุลด้วยตนเอง
                    6 สำเนาใบปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 (ในกรณีไม่สามารถติดต่อกับบิดาของบุตรได้)

               3.3 กรณีบิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าแล้ว
                    1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
                    2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
                    3 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
                    4 สำเนาทะเบียนหย่าของบิดา/มารดา
                    5 สำเนาบันทึกการหย่าที่ระบุอำนาจการปกครองบุตร (กรณีจดทะเบียนหย่าในประเทศไทย)
                    6 สำเนาใบปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 (กรณีจดทะเบียนหย่าในยูเค)
                    7 สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย          
               3.4 กรณีเด็กเกิดก่อน 1 มีนาคม พ.ศ.2535 (ค.ศ.1992)
                      1 กรอกแบบฟอร์มตามข้อ 2 และเตรียมเอกสารตามข้อ 3 แล้วแต่กรณี
                      2 นำสูติบัตรฉบับเต็ม Full Birth Certificate ไปประทับตรารับรองจาก Foreign and 
                         Commonwealth Office (FCO) ของสหราชอาณาจักรฯ หรือ Department of Foreign
                         Affairs ของไอร์แลนด์ (แล้วแต่กรณี)
                      3 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเก็บต้นฉบับสูตบัติข้างต้นไว้เป็นหลักฐาน
                      4 บิดา/มารดาจะต้องมากรอกแบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ กรณีขอสัญชาติไทยย้อนหลัง
                         ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น
                      5 ค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ (เงินสด)
  
หมายเหตุ   สำหรับแบบฟอร์มสามารถดาว์นโหลดได้จากเว็ปไซต์ www.thaiembassyuk.org.uk  
                    ซึ่งจะบอกไว้อย่างละเอียด ว่าควรเตรียมเอกสารจำนวนกี่ชุด

ข้อมูลอ้างอิง กงสุลไทยประจำประเทศอังกฤษ
                       เด็กลูกครึ่งถือสองสัญชาติ
                       Register birth certificate in UK