เป็นธรรมดาคะเราสายเลือดไทย เมื่อลูกเป็นลูกครึ่ง อย่างไรเสียเราก็อยากให้ลูกของเรามีความเป็นไทยด้วย ไม่ว่าจะด้านภาษา ขนมธรรมเนียม วัฒนธรรมไทยหรือแม้แต่การถือสัญชาติไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เด็กลูกครึ่งไทยอังกฤษที่เกิดในสหราชอาณาจักร (ยูเค) ต้องแจ้งเกิดในยูเคก่อน เพื่อให้ได้ Birth Certificate จากทางการอังกฤษก่อน แล้วถึงยื่นเรื่องขอสูติบัตร ไทยตามลำดับ
ส่วนเด็กลูกครึ่งไทยอังกฤษ ที่เกิดในประเทศไทยก็แจ้งเกิดที่ไทยตามกฎหมายไทยก่อน แล้วถ้าจะยื่นเรื่องขอสัญชาติอังกฤษก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยค่ะ ในที่นี่ขอกล่าวถึงการที่เด็กเกิดในยูเคนะค่ะ
การแจ้งเกิด ต้องแจ้งทั้ง 2 แห่ง คือที่ทางการของอังกฤษและกงสุลไทยในประเทศอังกฤษ
การแจ้งเกิดในส่วนทางการของอังกฤษ
บุตรที่เกิดในยูเค จะต้องแจ้งเกิดภายใน 42 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิด ผู้ปกครองของเด็กจะต้องไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดที่ Local register office ในพื้นที่ที่เด็กเกิด หรือที่โรงพยาบาลที่เด็กเกิดก่อนที่แม่และเด็กจะออกจากโรงพยาบาล แต่บางที่ก็ไม่สามารถทำได้ คุณก็ต้องไปใน another register office ที่ใกล้ที่สุด
ข้อมูลที่จำเป็นในการแจ้งเกิด
- ชื่อ สกุล เพศ ของเด็ก
- สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด
- ชื่อ สกุล ที่อยู่ของพ่อและแม่
- ทะเบียนสมรสของพ่อและแม่เด็ก
- สถานการทำงานของพ่อและแม่เด็ก
- นามสกุลเดิมของแม่เด็ก
คุณอาจไม่ต้องให้รายละเอียดทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ทำการสอบถามการแจ้งเกิด
เอกสารอ้างอิงที่ควรนำไป เพื่อแสดงตน เช่น
- Passport หนังสือเดินทาง
- Birth Certificate ใบสูติบัตร
- Driving licence ใบขับขี่
- proof of address (eg. utility bill) หลักฐานแสดงที่อยู่อาศัย เช่นบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ
- council Tax bill บิลเรียกเก็บภาษี
- marriage or civil partnership certificate ทะเบียนสมรส
- You may need proof of paternity form
เมื่อเอกสารครบถ้วนก็จะได้รับ Birth Certificate ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญใช้ได้ตลอดชีวิต ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็ปไซต์ https://www.gov.uk/register-birth
การแจ้งเกิดที่กงสุลไทยในประเทศอังกฤษ
1. การขอสูติบัตร
1.1 การขอสูติบัตรไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า แต่ถ้าจะขอทำหนังสือเดินททางด้วยต้องนัดหมาย
กับสถานเอกอัคราชฑูตฯ ล่วงหน้า
1.2 ทั้งบุตรและผู้ปกครองจะต้องไปติดต่อที่สถานทูตด้วยตัวเอง
1.3 เด็กที่ขอใบสูตบัตร จะต้องเกิดในยูเค และมีใบรับรองการเกิดจากทางการของยูเคแล้ว
เท่านั้น
2. แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
2.1 แบบฟอร์มสูติบัตร
2.2 คำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ แบบฟอร์มที่ 1 (กรณีขอทำหนังสือเดินทาง)
2.3 บันทึกสอบสวน แบบฟอร์มที่ 2 (กรณีขอหนังสือเดินทาง)
3. หลักฐานประกอบ
3.1 กรณีบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสแล้ว
1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
3 สำเนาทะเบียนสมรสของบิดา/มารดา
4 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
5 สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา
3.2 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว
1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
3 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
4 สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา
5 สำหรับแบบฟอร์มบันทึกถ้อยคำ ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องลงนามต่อเจ้าหน้าที่
ที่สถานฑูตฯ เท่านั้น หากบุตรต้องการใช้นามสกุลตามบิดา บิดาจะต้องลงนามใน
แบบฟอร์มยินยอมให้ใช้นามสกุลด้วยตนเอง
6 สำเนาใบปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 (ในกรณีไม่สามารถติดต่อกับบิดาของบุตรได้)
3.3 กรณีบิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าแล้ว
1 รูปถ่าย ขนาด passport size ของเด็ก
2 สำเนาสูตบัตรอังกฤษฉบับเต็ม Full Birth Certificate
3 สำเนาหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา
4 สำเนาทะเบียนหย่าของบิดา/มารดา
5 สำเนาบันทึกการหย่าที่ระบุอำนาจการปกครองบุตร (กรณีจดทะเบียนหย่าในประเทศไทย)
6 สำเนาใบปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 (กรณีจดทะเบียนหย่าในยูเค)
7 สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย
3.4 กรณีเด็กเกิดก่อน 1 มีนาคม พ.ศ.2535 (ค.ศ.1992)
1 กรอกแบบฟอร์มตามข้อ 2 และเตรียมเอกสารตามข้อ 3 แล้วแต่กรณี
2 นำสูติบัตรฉบับเต็ม Full Birth Certificate ไปประทับตรารับรองจาก Foreign and
Commonwealth Office (FCO) ของสหราชอาณาจักรฯ หรือ Department of Foreign
Affairs ของไอร์แลนด์ (แล้วแต่กรณี)
3 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเก็บต้นฉบับสูตบัติข้างต้นไว้เป็นหลักฐาน
4 บิดา/มารดาจะต้องมากรอกแบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ กรณีขอสัญชาติไทยย้อนหลัง
ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น
5 ค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ (เงินสด)
หมายเหตุ สำหรับแบบฟอร์มสามารถดาว์นโหลดได้จากเว็ปไซต์ www.thaiembassyuk.org.uk
ซึ่งจะบอกไว้อย่างละเอียด ว่าควรเตรียมเอกสารจำนวนกี่ชุด
ข้อมูลอ้างอิง กงสุลไทยประจำประเทศอังกฤษ
เด็กลูกครึ่งถือสองสัญชาติ
Register birth certificate in UK
เขียนบล๊อคได้ดีมากกดลยค่ะ ขอแชร์นะค่ะ
ReplyDeleteเขียนบล๊อคได้ดีมากกดลยค่ะ ขอแชร์นะค่ะ
ReplyDeleteขอบคุณมากๆ ค่ะ
ReplyDeleteขอบคุณค่ะมีประโยชน์มากมาย
ReplyDelete